5 สาเหตุที่ทำให้ท้องอืด

รู้หรือไม่! เวลาที่เราเกิดอาการท้องอืดนั้นอาจจะเกิดมาได้จากสาเหตุต่างๆได้ ซึ่งหลักๆก็จะเป็น 5 สาเหตุนี้ด้วยกัน คือ

.

1. เกิดจากการรับประทานอาหาร เช่น ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาจจะทำให้ย่อยอาหารได้ช้าลงและเกิดอาการท้องอืดได้

.

2. การใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ก็จะทำให้ย่อยอาหารได้ช้าเป็นสาเหตุของอาหารท้องอืดเช่นกัน

.

3. อายุ เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัยระบบย่อยอาหารจะทำงานช้าลง เราจึงจะเห็นว่าผู้สูงอายุมักจะมีอาการท้องอืดได้ง่ายและบ่อยกว่าคนอายุ

.

4. ติดเชื่อแบคทีเรียที่ชื่อ เอช ไพโลไร ทำให้เสียดท้อง และมีอาการท้องอืดได้

.

5. ท้องผูก ทำให้เกิดอาหารท้องอืดตามมาได้เนื่องจากความดันในทางเดินอาหารสูงขึ้น

.

#สาเหตุของอาการท้องอืด

#การดื่มน้ำขิงบรรเทาอาการท้องอืดได้

#ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน

#อบอุ่นกาย #อบอุ่นใจ #อบอุ่นด้วยจินเจน

💔รู้หรือไม่ว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคหัวใจ‼

สาเหตุหลักเป็นเพราะหลายๆคนไม่ได้ใส่ใจในเรื่องของการดูแลสุขภาพ อีกทั้งมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารรสจัด มีคอเลสเตอรอลสูง รวมทั้งความเครียด นอกจากนี้ โรคประจำตัวบางอย่างก็ส่งผลต่อโรคหัวใจด้วยเช่นกัน

ปัจจัยที่ทำให้หัวใจไม่แข็งแรง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและเมื่อมีอายุมากขึ้น ก็จะมีการเสื่อมสภาพของระบบอวัยวะต่างๆ รวมถึงหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจตามมา

หลายคนอาจมองข้ามสัญญาณเตือนจากโรคหัวใจเพราะบางครั้งอาจคิดว่าเป็นเพียงแค่อาการทั่วไป แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นอาการจากโรคหัวใจที่แสดงตัวมากขึ้น โดยสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

📌 เหนื่อยง่ายกว่าปกติ:

หลายครั้งที่เหนื่อยง่าย หอบหายใจลำบาก หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพราะออกแรงมากเกินไปหรืออยู่ระหว่างการออกกำลังกายโดยจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะแล้วหายไปเองแต่บางครั้งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในขณะนอนหลับด้วย

📌 เจ็บแน่นหน้าอก:

ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอกด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน เวลานอนราบอาจจะรู้สึกเหนื่อยหรือมีอาการอึดอัดบริเวณหน้าอก

📌 เป็นลมหมดสติโดยไม่มีสาเหตุ

📌 ขาหรือเท้าบวมโดยไม่มีสาเหตุ:

นอกจากอาการขาหรือเท้าบวมแล้ว ยังรวมไปถึงปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปาก มีลักษณะเขียวคล้ำซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง เพราะเลือดไหลขึ้นจากขาไปยังหัวใจได้ไม่สะดวก จนทำให้เลือดคั่งที่ขา

สำหรับความรุนแรงของโรคหัวใจและหลอดเลือดจะสอดคล้องกับอายุ ความรุนแรงของโรคหัวใจที่เป็นและโรคร่วมที่มีอยู่ ในบางรายอาจนำไปสู่การเสียชีวิตอย่างกระทันหัน หรือป่วยหนักถึงขั้นวิกฤตได้

การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด จำเป็นต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ผ่อนคลายความเครียด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

✔ การรับประทานอาหาร:

เน้นอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจและร่างกาย ลดอาหารไขมันสูงรสจัด และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของกรดไขมันที่อิ่มตัวเช่น จากไขมันปาล์ม พร้อมกับรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีนไขมันต่ำ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไม่ติดมันหรือเนื้อปลา

✔ ลดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

✔ ควบคุมน้ำหนักและโรคประจำตัว:

ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพราะการที่น้ำหนักตัวเกินอาจเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ หรือเกิดโรคเรื้อรังจนทำให้เกิดโรคหัวใจอีกทั้งยังจำเป็นต้องควบคุมความดันโลหิตสูงให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

✔ ผ่อนคลายความเครียด:

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างชัดเจน เช่น อาจทำให้ความดันโลหิตสูงระดับฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้นจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

✔ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ:

การออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงโรคอื่น ๆเนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำงานได้ดี

หากใครกังวลหรือคิดว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถตรวจคัดกรองด้วยการตรวจเอกซเรย์ทรวงอกและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย ตลอดจนการตรวจหาแคลเซียมหินปูนที่ผนังหลอดเลือดหัวใจและตรวจหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยเทคนิคการทำ CT Scan เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก: โรงพยาบาลเวชธานี

#โรคหลอดเลือดหัวใจ

#จินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน

แก้โรคฮิต!! “ออฟฟิศซินโดรม” ปวด “คอ บ่า ไหล่”

แก้โรคฮิต!! “ออฟฟิศซินโดรม” ปวด “คอ บ่า ไหล่”
หรือจะเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการนี้อยู่ ลองทำ 3 ท่านี้ รับรองดีขึ้นแน่นอนค่ะ ^^


#ออฟฟิศซินโดรม
#ป้าเจน #จินเจน
#ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน

สุขภาพดีรับปีใหม่

ในช่วงปีใหม่แบบนี้ แอดมินและป้าเจนขอถือโอกาสแบ่งปันข้อแนะนำจาก สสส. และอาจารย์ สง่า ดามาพงษ์” ที่ปรึกษากรมอนามัย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านโภชนาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ดีมากๆและทำได้จริง เพื่อที่จะช่วยปรับเปลี่ยนนิสัยการกินของคุณ ให้มีสุขภาพที่ดีกว่าในปีที่ผ่านมา ขออนุญาตชวนไปดูแต่ละข้อพร้อมๆกันเลยค่ะ ^^

ที่มา: สสส.

เริ่มต้นจากลองมองย้อนกลับไปก่อน 12 เดือนที่ผ่านมาว่า สุขภาพของตัวเองเป็นอย่างไร “น้ำหนัก” เพิ่มขึ้นหรือไม่ ? ผอมลงหรือไม่ ? “ไปหาหมอกี่ครั้ง” เป็นหวัดกี่หน ? “ปวดท้อง” “ท้องเสีย” กี่ครั้ง ? เจ็บป่วยบ่อยหรือเปล่า ซื้อยากินหรือไม่ ? เปลืองเงินกับค่ารักษาพยาบาลไปมากน้อยแค่ไหนอย่างไร ขอให้สำรวจสุขภาพของตัวเองก่อน เป็นอันดับแรก

ต่อมา ให้ลองสำรวจกลับไปอีกว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เราได้ “ออกกำลังกาย” เป็นประจำหรือไม่ ? ออกๆ หยุดๆ หรือไม่ได้ออกเลย เอาแต่นั่ง ๆ นอน ๆ อย่างเดียว

และในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เรา “กินตามใจปาก” หรือไม่ ? กินถูกหลักโภชนาการ “ครบ 5 หมู่” หรือไม่ กินรสชาติ “หวานจัด มันจัด เค็มจัด” หรือไม่ เรา “กินผักผลไม้” เพียงพอหรือไม่ ?

ลองสำรวจเพิ่มว่า เราเป็นคน “ติดหวาน” หรือไม่ ? เรากินกาแฟเย็นมากเกินไปหรือเปล่า กินน้ำอัดลม กินขนมกรุบกรอบบ่อยหรือไม่ ?

เรื่องต่อมา ขอให้สำรวจเรื่อง “อารมณ์” ว่า ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เรามีอะไรที่มากระทบจิตใจในเชิงลบ มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ทำให้หงุดหงิด ทำให้กังวล ทำให้โกรธ ทำให้ไม่สบายใจ มีหลายเรื่องหรือไม่ ? แล้วเราสลัด “ความเครียด” ออกได้เร็วหรือไม่ หรือว่าเก็บมันไว้ในใจ เราสามารถขจัดออกได้กี่เรื่อง และไม่ได้กี่เรื่อง ?

ในรอบปีที่ผ่านมา “สูบบุหรี่” มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ? “ดื่มสุรา” จนติดเป็นนิสัยเลยใช่หรือไม่ และได้ “พักผ่อน” เพียงพอรึเปล่า นอนถึง 6 ชั่วโมงหรือไม่ ? ทั้งหมดนี้เราต้องกลับไปดูภาพรวมตัวเองในปีที่ผ่านมา เพื่อจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และวางแผนสู่การมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

ถ้าสำรวจแล้วพบว่า รอบปีที่ผ่านมาพฤติกรรม “แย่มาก” ไม่เคยออกกำลังกาย กินสะเปะสะปะ คุณจงเริ่มเอาวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนชีวิตใหม่ ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองวันนี้ จะเกิดอะไรขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า สุขภาพจะย่ำแย่ลงตามอายุ ที่เพิ่มมากขึ้นใช่หรือไม่

ดังนั้น ขอให้เริ่มจากการระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน เริ่มในช่วงเทศกาลปีใหม่ได้ยิ่งดี เพื่อปูพื้นฐานไปสู่พฤติกรรมการกินที่ถูกต้อง ไปตลอดทั้ง 12 เดือนข้างหน้า

ช่วงปีใหม่เป็นเทศกาลแห่งการกินเลี้ยง กินเค้กปีใหม่ อาหารส่วนใหญ่มักจะมีความมันจัด หวานจัดและเค็มจัด มีโปรตีนสูง ผักน้อย ดังนั้นถ้าเราจะฝึกพฤติกรรมการกิน ก็ควรจะระมัดระวัง “อาหารที่มีแคลอรี่สูง” เพราะอาจทำให้อ้วนแบบไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาว หรืออาหารหวาน ดังนั้น ก่อนทานอาหารควรคำนึงถึงปริมาณแคลอรี่ให้มาก ๆ

สำหรับเทคนิคการเลือกกินอาหารในงานเลี้ยง ประกอบไปด้วย 1. “สารอาหารจะต้องครบ 5 หมู่” จะไปกินเฉพาะเนื้อสัตว์อย่างเดียวไม่ได้ อาหารทุกมื้อในช่วงงานเลี้ยงต้องครบ 5 หมู่ 2. “รสชาติของอาหาร จะต้องไม่หวานจัด มันจัด เค็มจัด” ซึ่งบอกไม่ได้ว่าเป็นเมนูอะไร คุณต้องไปตัดสินใจกันเอาเอง

3. “หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด ๆ ผัด ๆ” 4. “เลือกกินอาหารประเภทต้ม, แกง, อบ, นึ่ง, ย่างและปิ้ง” แต่ต้องระวังอย่าให้ไหม้เกรียม 5. “ระวังอาหารหวาน” ไม่ได้ห้ามกินแต่อย่ามากจนเกินไป กินแต่พอดี เค้กกินต่อไปแต่ชิ้นอาจจะบางลง

สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ในการปูพื้นฐานเรื่องการกินให้ดีต่อสุขภาพ ในช่วงงานเลี้ยงปีใหม่ คือ “เริ่มต้นการกินผักให้มากขึ้น” โดยอาจจะมาในรูปของผักสลัด ผักที่อยู่ในแกง หรือผักที่อยู่ในน้ำพริก อยู่ในส้มตำ หรืออยู่ในยำผัก หรือเมนูอะไรก็แล้วแต่ “อาหารปีใหม่ต้องมีผักให้ได้” และ “ฝึกตัวเองกินผลไม้ หลังจากการกินข้าว” ไม่ใช่กินข้าวเสร็จแล้วไปหาขนมหวานกินต่อ ดังนั้น ควรมีผลไม้วางอยู่บนโต๊ะงานเลี้ยงด้วยเสมอ

ของขวัญที่เราควรมอบให้กับตัวเอง ไม่ใช่แก้วแหวนเงินทอง เสื้อผ้าหรือของขวัญที่มีราคาแพง แต่เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก “3 อ. 2 ส. และ 1 พ.” คือ อาหาร, อารมณ์, ออกกำลังกาย, ไม่ดื่มสุรา, ไม่สูบบุหรี่ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ดีขึ้น เป็นของขวัญแห่งชีวิตที่หาซื้อไม่ได้ด้วยเงินตรา

ถ้าคุณอยากจะเปลี่ยนชีวิตใหม่ คุณต้องเปลี่ยน Mindset หรือ ทัศนคติมุมมองใหม่ เพราะถ้าไม่เปลี่ยน Mindset เสียก่อนอย่างอื่นคุณก็จะเปลี่ยนไม่ได้ ซึ่งการที่คุณจะเปลี่ยน Mindset ได้คุณต้องมีแรงจูงใจ และเป็นแรงจูงใจที่มีพลังมากพอ

แรงจูงใจที่ว่านี้ อาจจะมาจากการสำรวจสุขภาพตัวเอง ในปีที่ผ่านมา เช่น น้ำหนักตัวที่มากขึ้น ๆ ถ้าปล่อยเอาไว้ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง พอคุณอ้วนมากเข้า โรคเบาหวาน, โรคความดัน, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง ก็ตามมา แล้วคุณจะทำอย่างไร สุขภาพคุณจะเลวร้ายมากยิ่งขึ้น

ถ้าอยากจะเปลี่ยนตัวเองเพื่อสุขภาพ จริงๆ ขอให้ทำเพื่อคนอื่นดีกว่า เช่น ถ้าคุณมีแม่ ให้เปลี่ยนตัวเองเพื่อแม่ เพราะลองคิดดูว่า ถ้าคุณอายุ 30 ปี แม่อายุ 70 ปี แต่คุณป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ปากเบี้ยว กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง แม่คุณต้องมาคอยดูแล คุณจะทำอย่างไร หรือถ้าคุณแต่งงานแล้ว มีลูกตัวเล็ก ๆ คุณก็ลองตั้งเป้าหมายเปลี่ยนตัวเองเพื่อลูก จะได้อยู่เลี้ยงดูเขาเติบโต

“การเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพถ้าไม่มีแรงจูงใจมากพอ มันจะเปลี่ยนไม่ได้ ที่สำคัญอย่าตั้งเป้าหมายเปลี่ยนเพื่อตัวเอง เช่น ลดน้ำหนักเพื่อตัวเองจะได้หุ่นดี การตั้งเป้าหมายเช่นนี้ มักจะล้มเลิกกลางคัน เพราะแรงจูงใจไม่มากพอ ดังนั้นขอให้ลองทบทวนหาข้อบกพร่องในปีที่ผ่านมา แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยใช้วันปีใหม่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง”

7 คำถามคาใจในเทศกาลกินเจ

เริ่มเทศกาลกินเจของปีนี้แล้ว…วันนี้ “หมอจิน” และ “ป้าเจน” เลยได้รวบรวมคำถามบางคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทศกาลกินเจนี้มาฝากทุกๆคนให้เข้าใจง่ายๆอีกครั้งค่ะ ตามไปดูกันเลย ^^

#เทศกาลกินเจ

#คำถามคาใจเทศกาลกินเจ

#หมอจิน #ป้าเจน

#ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน

#จินเจนดื่มดีดื่มได้ทุกเทศกาล ^^

ในแต่ละวันของคุณ

ในแต่ละวันของคุณ ให้จินเจนคอยดูแลนะคะ #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน❤️♨️

EATFROMHOME

#EatFromHome น้ำหนักขึ้นแล้วขึ้นอีก ได้เวลาลดแล้วจ้าาาา

#ป้าเจน #กินยังไงไม่ให้อ้วน

#จินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน

ที่มา: MomAndBaby, BangkokHospital

5 ท่าบริหารปอด

ทุกคนคะ! มา #บริหารปอด กันค่ะ

พยายามทำให้ได้ทุกวันเพื่อให้ปอดแข็งแรง พร้อมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ

#ท่าบริการปอด

#ป้าเจน

#จินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน

ผู้ที่หายป่วย ควรพักฟื้นอย่างไร

ผู้ที่หายป่วยและได้ออกจากโรงพยาบาลหลังเข้ารับการรักษาจนครบ 14 วัน หรือกลับมากักตัวที่บ้านจนครบ 14 วัน จัดว่าเป็นผู้ที่พ้นระยะการแพร่เชื้อ และอยู่ในระยะที่ร่างกายฟื้นตัว สามารถทำงานได้ตามปกติแล้ว แต่ก็ยังต้องให้ปฏิบัติตัวดูแลสุขอนามัยตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรคนะคะ ซึ่งผู้ที่เคยติดเชื้อจะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลัง 3 เดือนไปแล้ว จึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนในภายหลังด้วยค่ะ

สำหรับข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่หายป่วยจากโควิดแล้วมีดังนี้ค่ะ

1. ไม่จำเป็นต้องกักตัวหรือแยกตัวจากผู้อื่น เพราะหายจากโรคแล้ว (ซึ่งต่างจากกรณีเป็นผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง หรือเพิ่งจะได้รับการวินิจฉัย จึงต้องกักตัวหรือแยกตัวจากผู้อื่น) แต่ยังคงแยกห้องนอน ห้องน้ำจากผู้อื่น หรือทำความสะอาดหลังใช้ทุกครั้ง

2. การดูแลสุขภาพอนามัย ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น

3. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระหรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนและหลังสัมผัสจุดเสียงที่มีผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได มือจับตู้เย็น เป็นต้น

4. ไม่ใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารและแก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น

5. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และมีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ

6. เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร

7. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และหากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่หรือมีอาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้ติดต่อสถานพยาบาล หากต้องเดินทางมาสถานพยาบาล แนะนำให้สวมหน้ากากระหว่างเดินทางตลอดเวลา

หมายเหตุ : การพักฟื้นที่บ้าน ควรปฏิบัติจนครบ 1 เดือนเพื่อลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค

#ด้วยความห่วงใย

#หมอจิน #ป้าเจน

#จินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน

อาหารบำรุงปอด

มาบำรุงปอดกันค่ะ ^^

ทานอาหารที่เป็นประโยชน์แล้ว ก็อย่าลืมออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ

#อาหารบำรุงปอด

#ด้วยความห่วงใย

#ป้าเจน

#จินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน