ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ทำยังไงดี?

อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มักมีสาเหตุมาจากสมองทำงานไม่เป็นปกติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการนอนไม่หลับนี้หากสะสมนานเข้าจะอันตรายมาก เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ร่างกายทรุดโทรม ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และที่ร้ายแรงกว่านั้นคือส่งผลต่อด้านสุขภาพ จนเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นมาได้ ยิ่งกว่านั้น อาการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการเตือนของโรคอื่น ๆ ทางสมองได้อีกด้วย

การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มาจาก 2 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ

1. การเปลี่ยนแปลงของอายุที่มากขึ้น โดยปกติเมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น สมองก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ส่งผลกับการนอนของผู้สูงอายุ คือ ระยะเวลาของการนอนตอนกลางคืนจะลดลง ใช้เวลานานขึ้นหลังจากเข้านอนเพื่อที่จะหลับ ช่วงระยะที่หลับแบบตื้น (ตอนที่กำลังเคลิ้ม แต่ยังไม่หลับสนิท) จะยาวขึ้น ขณะที่ช่วงระยะที่หลับสนิทจริงๆ จะลดลง มีการตื่นขึ้นบ่อยๆ กลางดึก อย่างไรก็ตามแม้ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีทั้งกายและใจสมวัย ก็อาจรู้สึกว่าตัวเองนอนน้อยลง หรือคิดไปว่านอนไม่หลับ แต่มีข้อที่น่าสังเกต คือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้แม้จะดูเหมือนว่านอนไม่หลับแต่ช่วงกลางวันมักจะไม่มีอาการง่วงเหงาหาวนอนแต่อย่างใด

2. มีโรคซ่อนอยู่ ยาบางประเภทโดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมอง ทำให้ผู้สูงอายุมีอาการนอนไม่หลับอยู่บ่อยๆ เช่น ใช้ยานอนหลับนานๆ ยารักษาอาการสั่น เคลื่อนไหวช้าในโรคพาร์กินสัน หรือบางครั้งอาจเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคอื่นที่ไม่เกี่ยวกับโรคทางสมอง เช่น แอลกอฮอล์ในยาน้ำแก้ไอ หรือ คาเฟอีนที่ผสมอยู่ในยารักษาโรคหวัด เป็นต้น เมื่อผู้สูงอายุหยุดการใช้ยาเหล่านี้ อาการนอนไม่หลับก็จะหายไปเอง นอกจากนั้น ผู้สูงอายุที่มีโรคใดก็ตามที่ทำให้ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อยๆ ตอนกลางคืน ก็จะมีผลต่อการนอนด้วย เช่น ผู้เป็นเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุชาย โรคไตวายเรื้อรัง หรือแม้แต่การใช้ยาขับปัสสาวะในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือภาวะหัวใจวาย ก็ทำให้มีปัสสาวะตอนกลางคืนได้บ่อย หรือผู้สูงอายุที่เริ่มมีสมองเสื่อมในระยะแรกก็มักจะมีอาการนอนไม่หลับ หรือภาวะซึมเศร้าก็เป็นสาเหตุของการนอนยากในผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน

ข้อปฏิบัติที่ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับในผู้สูง

  • พยายามหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือจำกัดเวลาการนอนกลางวัน ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมงในช่วงบ่าย
  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ โดยเฉพาะการทานในเวลาเย็น เป็นต้น
  • ไม่ควรดื่มน้ำในช่วง 4-5 ชั่วโมงก่อนที่จะถึงเวลาเข้านอน ถ้ามีปัญหาปัสสาวะกลางคืนบ่อยๆ
  • เพิ่มกิจกรรม หรือการออกกำลังกาย ในช่วงเวลากลางวันให้มากขึ้น
  • ถ้าผู้สูงอายุไม่มีอาการง่วงนอนเมื่อถึงเวลาเข้านอน และไม่สามารถนอนหลับได้ ก็ควรลุกขึ้นมาหาอะไรทำ ดีกว่าที่จะนอนกลิ้งไปมาบนเตียง
  • กำหนดเวลาอาหารมื้อเย็นให้คงที่ สม่ำเสมอ และควรจะเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง
  • เมื่อเทียบกับมื้ออื่นๆ
  • พยายามจัดสิ่งแวดล้อมภายในห้องนอนให้เงียบ และมืดพอสมควร ไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป
  • ฝึกการทำสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบ

หากลองทำตามวิธีข้างต้นแล้ว อาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้น ก็แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุอื่นๆเพื่อทำการรักษาต่อไป

ที่มา: โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน

ด้วยความปรารถนาดี

จินเจน
ดื่มน้ำขิง ดื่มจินเจน

ให้เปลี่ยนวิธีกิน เมื่อเข้าวัย 50+

การมีสุขภาพดีในทุกช่วงวัย ส่วนหนึ่งวัดจากการมีปริมาณมวลกล้ามเนื้อที่เพียงพอได้ ช่วงวัยกลางคนหรือวัยทํางาน (อายุ 25-64 ปี) มวลกล้ามเนื้อจะเริ่มหายไปอย่างช้าๆ ตั้งแต่อายุ 35 ปี และรวดเร็วขึ้นเมื่อย่างเข้าอายุ 70 ปี โดยเฉพาะเพศหญิง กล้ามเนื้อจะหายอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจําเดือน ดังนั้นหากไม่ได้ออกกําลังกายหรือทานอาหารในปริมาณที่เพียงพอ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุก็จะทําให้มีปัญหาสุขภาพจากมวลกล้ามเนื้อลดลงได้

.

ความชราทําให้ระดับฮอร์โมนต่างๆ สร้างน้อยลง เซลล์ในร่างกายทํางานได้ช้า ลง ระบบประสาทสั่งการแย่ลง ส่งผลให้การขยับร่างกายถดถอยลง ช้าลง เดินไม่มั่นคง อ่อนเพลียง่าย หกล้มง่าย หรือไม่มีแรงขยับ ตัว นําไปสู่ภาวะการนอนติดเตียงในที่สุด

ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและชะลอการหายไปของกล้ามเนื้อ ทําให้ผู้สูงอายุมีความแข็งแรง ฟิต และสุขภาพดีใกล้เคียงกับช่วงวัยกลางคนได้ ด้วยการทานอาหารที่ครบ 5 หมู่ เน้นทานโปรตีนที่เพียงพอ ร่วมกับการขยับร่างกายเพิ่มหรือออกกําลังที่มีการเกร็งกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวไม่เร็วมาก เช่น จี้กง โยคะ ไทเก๊ก การเล่นเวท หรือ ยางยืด ปั่นจักรยาน การเดินปกติ หรือเดินในน้ำ เป็นต้น

.

โปรตีน ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุทั่วไปที่ไม่มีโรคประจําตัวรุนแรงนั้น ไม่ได้ต่างจากวัยกลางคน ที่ความต้องการโปรตีนจะสูงขึ้นเพื่อกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อใหม่ โดยน้ำหนักตัวทุกๆ 10 กิโลกรัม ควรทานโปรตีน 3-4 ช้อนโต๊ะต่อวัน เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม ควรทานโปรตีน 5×3 = 15-20 ช้อนโต๊ะต่อวัน เลือกโปรตีนที่เคี้ยวง่ายหรือไม่ต้องเคี้ยว เช่น ไข่ตุ๋น เนื้อปลา หมูสับหมักนิ่มหรือเนื้อสัตว์ตุ๋นจนนิ่ม นม เต้าหู้ เลือดหมู หรือไก่ เป็นต้น โดยสลับทานทั้งเนื้อสัตว์สีแดงและสีขาว เพื่อให้ได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอ

.

แป้ง ควรทานมื้อละ 3-4 ทัพพี เลือกประเภทนิ่ม เช่น ข้าวต้ม ข้าวหุงนิ่มๆ ขนมปังนิ่มๆ ฟักทอง มันนึงเนื้อนิ่มๆ หรือวุ้นเส้น เป็นต้น

ผักผลไม้ การกินให้หลากหลายจะช่วยให้ระบบร่างกายทํางานได้ดีขึ้น และป้องกันท้องผูก ทานผักมื้อละ 1-2 ทัพพี และผลไม้มื้อละ 1 ฝ่ามือ โดยเลือกแบบที่นิ่มหรือไม่ต้องเคี้ยว เช่น ผักที่ต้มหรือปรุงจนนิ่ม ส้ม มะละกอ แก้วมังกร แตงโม มะม่วงสุก กล้วยสุก ผักหรือผลไม้ปั่นพร้อมกาก เป็นต้น

.

ทานน้ำมันและน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน น้ำปลาหรือซีอิ๊วไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน จะช่วยป้องกันโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และอีกหลายๆ โรคในผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้ การดื่มนมวัวหรือนมถั่วเหลืองก็สําคัญ (นมถั่วเหลืองแนะนําประเภท UHT เนื่องจากมีการเติมแคลเซียมให้เท่าแคลเซียมในนมวัว) โดยทานวันละ 1-2 แก้ว จะช่วยรักษามวลกระดูกและกล้ามเนื้อ และการออกไปโดนแดดบ้างในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดีที่เพียงพอขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลสมิติเวช

.

.

#จินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน

11 อ. สูงวัยแบบ STRONG!!

สว. (สูงวัย) ต้องอ่าน!! กฏเหล็ก 11 อ. ที่ผู้สูงวัยต้องมี เพื่อที่จะได้ดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดที่บ้านให้ Strong! ไปด้วยกันนะค่ะ ไปเริ่มกันเลย..

1. อาหาร

เมื่อสูงวัยขึ้น ยิ่งต้องเอาใจใส่ดูแลเรื่องอาหารเป็นพิเศษนะคะ เพราะเป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของระบบย่อยอาหาร และการทำงานของอวัยวะทุกส่วน ดังนั้น การลดปริมาณอาหารลง แล้วทานให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ จะดีต่อร่างกายและอารมณ์มากเลยค่ะ 

2. อากาศ

อะไรจะดีไปกว่าการได้สูดอากาศสดชื่นในสวนสาธารณะในวันหยุด? เพราะอากาศบริสุทธิ์ช่วยฟอกเลือดและนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ และการได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีทุกวัน ยังส่งผลให้อารมณ์แจ่มใส สุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวอีกด้วยนะคะ

3. ออกกำลังกาย

ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ 3 ครั้ง (ครั้งละประมาณ 30 นาที)

การออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยชะลอความเสื่อมโทรมของร่างกายให้แข็งแรงขึ้น และยังมีผลต่อกระดูกอย่างเห็นได้ชัด

กระดูกในผู้สูงอายุจะมีสารแคลเซี่ยมลดลง (osteoporosis) ทำให้เนื้อกระดูกบางลง แต่ถ้าผู้สูงอายุมีการออกกำลังอยู่เสมอ พบว่าจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้

4. อนามัย

ผู้สูงอายุควรสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย และจิตใจอยู่เสมอ ถ้าพบความผิดความปกติในระยะเริ่มต้น จะทำให้การรักษาได้ผลดีและง่ายขึ้นอีกด้วย

5. อาทิตย์

การรับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า (อย่างน้อยวันละ 30 นาที) ช่วยป้องกันและซะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ “วิตามินดี” แสงแดด ยังสามารถป้องกันโรคซึมเศร้า เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน กล้ามเนื้อให้แข็งแรงได้อีกด้วยนะคะ

6. อารมณ์

การทำสมาธิ หรือโยคะ ส่งผลต่ออารมณ์ที่สงบนิ่ง ช่วยฝึกสติให้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ และเกิดอาการผ่อนคลาย

เมื่ออารมณ์ดี มีการยิ้มหรือหัวเราะ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอ็นโดฟีนแห่ง “ความสุข” ซึ่งช่วยให้สามารถต่อสู้กับความกลัว ความเครียดวิตกกังวล และกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น การไหลเวียนโลหิต และร่างกายโดยรวมดีขึ้นอีกด้วยนะคะ

7. อดิเรก

งานฝีมือ ปลูกต้นไม้ เต้นลีลาศ ทำอาหาร ร้องเพลง หรือเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม เป็นงานอดิเรกที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุได้อย่างดี ผู้สูงอายุควรหางานอดิเรกทำในวันว่าง เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และยังช่วยให้รู้สึกมีคุณค่า ภูมิใจในตัวเองอีกด้วย

ลองมองหาสิ่งที่ตัวเองอยากทำรักและชอบดูนะคะ

8. อบอุ่น

การฝึกบุคลิกให้เป็นคนโอบอ้อมอารี มีน้ำใจต่อคนรอบข้าง เป็นพลังที่ช่วยให้คนอยากเข้าใกล้ รู้สึกมีความสุขและอบอุ่นใจได้อย่างดีเลยค่ะ

รู้แล้ว อย่าลืมให้การช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวและคนอื่นๆ ดู รับรองว่าจะได้มิตรภาพที่ดีกลับคืนมาอย่างแน่นอนค่ะ 

9. อุจจาระ / ปัสสาวะ

เรื่องการขับถ่ายของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญเพราะอยู่ในชีวิตประจำวัน บางรายเกิดปัญหาถ่ายยาก หรือไม่สามารถกลั้นปัสสาวะเองได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้มีสารพิษตกค้างในร่างกายได้ง่ายๆ การป้องกันที่ดีที่สุด คือฝึกทานผักผลไม้ให้เป็นนิสัย รวมถึงดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ จะช่วยให้ระบบร่างกายภายในดีขึ้นได้

*ผู้หญิงสูงวัยหลายคนมีปัญหาการกลั้นปัสสาวะ หลายคนจึงไม่ชอบดื่มน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำนะคะ

10. อุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตาสั้นยาว หรือหูผิดปกติ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ จึงควรระมัดระวังการใช้ชีวิตเป็นพิเศษ

หากพบว่ามีความผิดปกติทางร่างกาย ควรหาทางแก้โดยด่วนค่ะ เช่น สายตายาวควรใส่แว่นสายตา รวมถึงดูแลสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย มีแสงสว่างพอเหมาะ พื้นไม่ลื่น มีราวจับบริเวณบันไดและห้องน้ำ เป็นต้น

11. อนาคต

เมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น ควรมีการวางแผนคิดถึงอนาคตไว้ด้วย การเข้าร่วมสังคมกลุ่มต่างๆ หรือมีเพื่อนรุ่นเดียวกัน จะทำให้มีความอบอุ่นไม่เหงาใจ และรู้สึกถึงคุณค่าของตนเอง

รวมถึงวางแผนสำหรับการเตรียมเงิน และที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิตในอนาคตได้อย่างดีเลยค่ะ

Gingen สนับสนุนให้ สว. มีชีวิตแฮปปี้ ดีต่อใจ ♥

#ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน
ช้อปจินเจนออนไลน์ได้แล้ววันนี้ที่ shop.gingen.com

5 วิธี เตรียมตัวแก่แบบเก๋าๆ!

ใครหลายคนอาจจะไม่อยากแก่ เพราะกังวลว่าแก่แล้วร่างกายก็ทรุดโทรมมีแต่โรคมาถามหาเยี่ยมเยือน รวมถึงเรี่ยวแรงที่ถดถอย ทำให้ไม่สามารถทำงานหาเงินได้ แต่ถ้าคุณรู้เคล็ดลับ 5 ข้อนี้ จะทำให้คุณลดความกังวลต่างๆ และกลายเป็น “คนแก่แบบมีคุณภาพ”

แล้วถ้าอยากแก่อย่างมีคุณภาพ ต้องทำอย่างไร?

1. เตรียมความคิดและจิตใจของคุณ
 ก่อนอื่นต้องเริ่มที่ความคิดและจิตใจก่อน เพราะคนสูงวัยจำนวนมาก รู้สึกว่าตนเองนั้นไร้ค่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้สูงอายุต้องคิดให้ได้ก่อนว่า ตนเองมีคุณค่า มีความรู้ และประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวอันโชกโชน ที่ใช้เวลาทั้งชีวิตสะสมมา การนำความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ มาค้นหาและทำอะไรสักอย่าง แม้จะดูไม่มากมายนัก แต่ก็สามารถช่วยสร้างความรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่าขึ้นมาได้

2. พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้รู้เท่าทันความคิดใหม่ ๆ ปรับตัวให้อยู่กับยุคปัจจุบัน และทำความเข้าใจความคิดของคนรุ่นใหม่ และสิ่งใหม่ ๆ จะช่วยให้การใช้ชีวิตร่วมกับคนหนุ่มสาว ของผู้สูงอายุง่ายขึ้นมาก เพราะสามารถพูดคุยกันแล้วเข้าใจตรงกันได้ ไม่ใช่คิดกันไปคนละทาง เข้าใจกันไปคนละอย่าง

3. เตรียมพร้อมด้านสุขภาพ  สุขภาพที่ดี จะทำให้เรา แก่อย่างมีคุณภาพ ซึ่งการเตรียมตัวด้านสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในวัยชราของคุณได้  สิ่งที่ควรทำเพื่อเตรียมพร้อมในด้านสุขภาพ ได้แก่ ดูแลสุขภาพทั้งอาหารการกิน  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป  หมั่นตรวจร่างกายประจำปี  งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และ งดสูบบุหรี่

4. เตรียมพร้อมด้านการเงิน ใครๆก็อยากสบายตอนแก่ทั้งนั้น แต่ความจริงแล้วตรงกันข้าม วัยชรา จะเป็นช่วงที่คุณยังคงมีรายจ่ายอยู่ แต่มีรายได้ต่ำ ไปจนถึงไม่มีรายได้เลย นั่นอาจทำให้มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในช่วงบั้นปลายชีวิตได้ ดังนั้นการวางแผนการเงินจึงสำคัญ การมีเงินออม จะเป็นหลักประกันว่าคุณจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ดังนั้นคุณควรจะเริ่มออมเงิน สำหรับการใช้จ่ายหลังเกษียณในไว้แต่เนิ่น ๆ

5. เตรียมพร้อมด้านที่อยู่อาศัย เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็ย่อมเสื่อมสภาพไปตามอายุ ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตจะลดลง ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านจะสูงขึ้น  การเตรียมบ้านให้พร้อม และเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ จะช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น และลดการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น มีพื้นต่างระดับให้น้อยที่สุด และ พื้นผิวไม่ลื่น เพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม

10 โรคที่ต้องระวังของผู้ใหญ่วัย 40 อัพ

ใคร 40 อัพ ต้องอ่าน!!
“10 โรคที่ต้องระวังของผู้ใหญ่วัย 40 อัพ”

ผู้ใหญ่ในวัย 40 อัพนั้น ส่วนใหญ่จะมีปัญหาสุขภาพตามมา เช่น อ้วนง่าย ผิวมีริ้วรอย อ่อนเพลียไม่สดชื่น เหนื่อยง่าย ความจำลดลง กระดูกพรุน เป็นต้น วันนี้เราลองมาดู “10 โรคที่ต้องระวังของผู้ใหญ่วัย 40 อัพ” กันว่ามีโรคอะไรที่ต้องคอยระวังกันบ้าง

1. โรคเส้นเลือดอุดตัน (Atherosclerosis): ซึ่งแบ่งออกเป็นเส้นเลือดในหัวใจอุดตัน และเส้นเลือดในสมองอุดตัน โดยโรคนี้เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิ การสูบบุหรี่ คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง การไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน โรคเบาหวาน การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ไตรกลีเซอไรด์สูง


2. โรคมะเร็ง (Cancer): ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งมีตั้งแต่กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ โรคอ้วน การดื่มแอลกอฮอล์ คนที่ได้รับแสงแดดน้อยเกินไปหรือมากเกินไป คนที่รับประทานผักหรือผลไม้น้อย การได้รับสารคาซิโนเจน การได้รับสารซีโนเอสโตรเจน

3. โรคสมองเสื่อม (Dementia): สาเหตุของความจำเสื่อมมีหลายสาเหตุด้วยกัน ตั้งแต่อัลไซเมอร์ พบมากที่สุดประมาณ 60% จากสาเหตุทั้งหมดหรือการถูกทำลายของเซลล์สมองและมีการลดลงของสารสื่อประสาท หรืออาจเกิดจากเส้นเลือดเล็กๆ ในสมองอุดตัน ซึ่งพบได้ประมาณ 20% จากสาเหตุทั้งหมด ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่พบมักร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยโรคพาร์คินสัน เป็นต้น

4. โรคอ้วน (Obesity): อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นอัตราการเผาผลาญ อาหารที่รับประทาน กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน หรืออาจเกิดจากฮอร์โมน

5. วัยทอง: เกิดจากระดับฮอร์โมนเพศลดลง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง

6. โรคนอนไม่หลับ (Insomnia): สาเหตุหลักๆมาจากคุณภาพการนอนไม่ดี จนทำให้เรานอนไม่หลับหรือหลับแต่หลับไม่ลึก

Osteoporosis concept on white background illustration

7. กระดูกพรุน (Osteoporosis): มีหลายสาเหตุ เช่น ฮอร์โมนลดลง หรืออาจเกิดจากการใช้ยาบางประเภท

8. โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease): สาเหตุหลักของโรคนี้เกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนและความเสื่อมชรา

9. ผิวหนังเสื่อมสภาพ (Aging Skin): สาเหตุเกิดจากทั้งภายในและภายนอก เช่น ระดับฮอร์โมนที่ลดลง แสงแดด การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การอักเสบติดเชื้อในร่างกายและมลภาวะเป็นพิษ


10. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย (Chronic Fatigue Syndrome): ซึ่งก็มาจากสุขภาพตามวัย

วิธีดูแลตัวเองแบบง่ายๆที่ทุกคนพอจะทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหล่านี้ หรือชะลอความรุนแรงของมัน ก็คือ หลีกเลี่ยง บุหรี่ เหล้า ชา กาแฟ ของหวาน อาหาร ปิ้ง-ทอด และแสงแดดแรงๆ นอกจากนี้เรายังต้องปรับวิธีการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงต้องพักผ่อนให้เพียงพออีกด้วย

Cr: Life Center

#Gingen #ขิงผงจินเจน
#ดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย

สั่งซื้อจินเจนออนไลน์ได้แล้ววันนี้ที่:
https://shop.gingen.com

“ผู้สูงอายุ” กับ “5 โรคยอดฮิต”

#ได้เวลาสำรวจตัวเองหรือผู้สูงอายุในครอบครัว ก่อนที่อะไรจะสายเกินไป…

มาเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ ข้อมูล หรือวิธีการดูแลเกี่ยวกับผู้สูงอายุกันนะคะ กับ “5 โรคยอดฮิต ของผู้สูงอายุ” หวังว่าจะมีประโยชน์กับหลายๆท่านนะคะ

1. โรคซึมเศร้า

เป็นอาการเจ็บป่วยทางจิตใจที่สำคัญซึ่งไม่อาจมองข้ามได้ เพราะโรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุหนึ่งของการฆ่าตัวตาย
……………………..……………………..…………

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า
– การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง
– โรคทางกายบางอย่างการได้รับยาหลายขนานที่ทำให้เกิดอาการเศร้า
– การสูญเสียสิ่งที่มีค่าในชีวิต เช่น คู่ชีวิต หรือการงานโดยการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเป็นหัวหน้าครอบครัว แต่ต้องมาเป็นผู้ตาม เป็นต้น
……………………..……………………..…………

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า
– หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว
– พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในวัยนี้
– ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรก รวมทั้งทำกิจกรรมเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น
– หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

2.โรคกระดูกพรุน


เป็นโรคที่พบในผู้สูงอายุทุกคน อันมีสาเหตุสำคัญจากการทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง
……………………..……………………..…………
สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน
– ไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ
– กรรมพันธุ์
– การใช้ยาสำหรับโรคบางอย่างทำให้เกิดการลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น ยาคอร์ติโซน สำหรับโรคไขข้ออักเสบ ยาเฮปาริน สำหรับโรคหัวใจและความดันโลหิต
– การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำ
– ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ดื่มชา หรือกาแฟ ซึ่งมีผลทำให้กระดูกเสื่อมง่าย
– ฮอร์โมนลดลง เช่น ในหญิงวัยหมดประจำเดือน
– ขาดการออกกำลังกาย
– ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดี มีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้
……………………..……………………..…………
ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคกระดูกพรุน
– ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร
– เมื่อมีความเจ็บปวดไม่ว่าสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัดหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย
– ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่นปลากระป๋องปลาเล็กปลาน้อยหรือดื่มนมพร่องมันเนยผักผลไม้เป็นต้นมา
– งดดื่มสุราและงดสูบบุหรี่
– หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเอง เช่น ยาลูกกลอน เพราะมันจะมีสารสเตียรอยด์สะสมอยู่จะทำให้กระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัว

3. โรคข้อเสื่อม

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกอ่อนผิวข้อเป็นหลัก โดยมากเป็นตำแหน่งข้อ คือ มีอาการปวดและมักเป็นหลังจากที่มีการใช้ข้อมากกว่าปกติ อาจมีอาการเจ็บด้านใดด้านหนึ่งของข้อได้ หรืออาจมีอาการบวมแดง แต่เมื่อได้พักอาการปวดก็จะลดลงหรือหายไป แต่อาการจะเป็นๆหายๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานข้อนอก จากนี้ยังมีอาการข้อฝืดเกิดขึ้นจากการหยุดการเคลื่อนไหวข้อเป็นเวลานาน เช่น นั่งท่าเดียว นั่งสมาธิและนั่งพับเพียบฟังเทศน์ เป็นต้น
……………………..……………………..…………
สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคข้อเสื่อม
– อายุมากขึ้น
– พันธุกรรมและโรคทางเมตาโบลิค เช่น โรคเก๊าท์
– เป็นโรคที่ทำให้เกิดข้ออักเสบ เช่น โรคข้อ รูมาตอยด์ หรือข้ออักเสบติดเชื้อ
– การได้รับบาดเจ็บของข้อ อาจมีการเคลื่อนไหวข้อซ้ำๆ หรือมีน้ำหนักที่กดทับลงผิดข้อ ก็มีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้
– อาชีพการงานที่มีการใช้นิ้วมือมาก
– ความอ้วน พบว่า คนอ้วนมีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพศหญิง ซึ่งมักเป็นที่ข้อรับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า เป็นต้น
– กล้ามเนื้อต้นขาเหนือเข่าอ่อนแรงหรือลีบ จะมีโอกาสเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้น
……………………..……………………..………….
ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคข้อเสื่อม
– หมั่นออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
– การนั่งส้วมไม่ควรนั่งยอง ควรปรับเปลี่ยนเป็นชักโครก หรือหาม้าสามขา มาคร่อมบนส้วมซึม
– ไม่ควรนั่งกับพื้น หรือทำกิจกรรมที่ต้องก้มเป็นเวลานาน
– หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดหรือที่สูงชัน
– หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
– หากมีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วน ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

4 .เวียนศีรษะ

เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยมากอาการมักเป็นๆหายๆ บางครั้งอาจจะมีอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งสาเหตุของอาการเวียนศีรษะนั้นเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวกับการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย องค์ประกอบไปด้วย อวัยวะทรงตัวในหูชั้นในการมองเห็น ระบบประสาท ตลอดจนสมองน้อยที่ควบคุมการทรงตัว ระบบกล้ามเนื้อ และข้อต่อ
……………………..……………………..…………
สิ่งกระตุ้นอื่นๆที่ทำให้สูญเสียการทรงตัวเร็วขึ้น
– โรคที่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันสูง หรือโรคหัวใจ ที่ทำให้เกิดการตีบของหลอดเลือด เลือดจึงไหลไปเลี้ยงอวัยวะทรงตัวหูชั้นในได้ไม่ดี หรือไปเลี้ยงสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวได้ไม่เพียงพอ
– โรคที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทรับความรู้สึก เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวาย ฯลฯ
– โรคที่มีผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้อเสื่อม หรือเคยมีกระดูกหักมาก่อน ฯลฯ
– โรคของหูต่างๆ อาจทำให้ผมทำงานแย่ลง เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
– โรคอื่นๆ เช่น โรคต่อมไทรอยด์
……………………..……………………..…………
ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกเวียนศีรษะไม่หาย
– อันดับแรกต้องหาสาเหตุให้พบก่อนว่าเกิดจากอะไร โดยการไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา
– สำหรับผู้ที่มีอาการเดินเซ เวียนศีรษะ ไม่ควรให้นั่งหรือนอนอยู่เพียงอย่างเดียว แต่ควรได้เดินไปทำกิจวัตรประจำวันด้วย แต่ต้องมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่ควรพยุงดวงตลอดเวลา เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเดินเองได้ต่อไป

5 .โรคสมองเสื่อม

เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งแก้ไขได้ เช่น เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด หรือ แก้ไขไม่ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์
……………………..……………………..……..
ผู้ที่อาจเป็นโรคสมองเสื่อมจะมีอาการ
มักลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นใหม่ๆ มาไม่นาน ขณะที่ความจำเรื่องเก่าในอดีตยังดีอยู่ ทำสิ่งที่เคยทำเป็นประจำไม่ได้ มักถามซ้ำๆ ในเรื่องที่เพิ่งบอกไป สับสนเรื่องวัน เวลาสถานที่ พฤติกรรม อารมณ์ และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงจากเดิม

จริงอยู่ที่ว่าอาการหลงลืมมากเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุและอาจไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อม แต่หากรู้สึกว่ามีอาการที่น่าสงสัยเหล่านี้ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาทันท่วงที
……………………..……………………..……..
ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคสมองเสื่อม
– งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
– ระวังการใช้ยาเอง ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้ง และควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูเพื่อกันการสั่งยาซ้ำซ้อน
– หมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และเจาะเลือดตรวจหาประวัติและไขมันในเลือดสูง
– ออกกำลังกายเป็นประจำ
– หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดและชะลอภาวะสมองเสื่อม เช่น ดนตรีบำบัด เต้นรำ เล่นเกมฝึกสมอง กลิ่นบำบัด และการออกกำลังกายที่ฝึกความสำพันธ์ของร่างกายและการสั่งงานของสมองซีกซ้ายและขวา
ผู้ดูแลต้องมีความอดทนและมีความยืดหยุ่นกับการดูแลผู้ป่วยโรคนี้เป็นอย่างมาก เพราะผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้จะมีขีดจำกัดหลายด้าน เช่น หิวอาหารไม่เป็นเวลา เดินช้า พูดช้า ตัดสินใจช้าและต้องให้กำลังใจผู้สูงอายุ อย่าดุด่าว่ากล่าวให้ท่านเกิดความท้อแท้และหมดกำลังใจ
……………………..……………………..………….
เทคนิคพัฒนาความจำ
– ตั้งสมาธิกับสิ่งที่ทำและพยายามนึกสร้างภาพในใจเมื่อต้องจดจำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
– เลือกจำเพาะข้อมูลที่สำคัญแล้วที่จำเป็นเท่านั้น
– พกสมุดบันทึกติดตัวตลอดเวลา

สุดท้ายขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรง หมั่นออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอนะคะ

#ด้วยความห่วงใย
#Gingen
#ขิงผงจินเจน
#ชงดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย

ช้อปออนไลน์ได้แล้ววันนี้ที่ >> https://shop.gingen.com
Inbox: m.me/gingenthailand
Line: https://lin.ee/lP2ryBp
หรือ 📱 028609788

Cr.สสส.

ขิง ยาอายุวัฒนะที่ไม่ควรมองข้าม

ขิงเป็นทั้งยาสมุนไพรที่ใช้บ่อยและ เป็นทั้งอาหาร เครื่องปรุงรส ที่ต้องมีไว้ประจำครัวเรือน

ชนิดรูปแบบของขิง และสรรพคุณ
๑. ขิงสด คุณสมบัติร้อนเล็กน้อย รสเผ็ด
สรรพคุณ ขับเหงื่อ แก้อาเจียน
๒. น้ำขิง คุณสมบัติร้อนเล็กน้อย รสเผ็ด
สรรพคุณ แก้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะ (เสมหะขาวใส)
๓. ขิงแห้ง คุณสมบัติร้อน อุ่นจงเจียว สลายความเย็น ใช้ ในกรณีระบบม้าม-กระเพาะอาหารพร่อง-เย็น
๔. ขิงหมกไฟ คุณสมบัติร้อน สามารถอุ่นเส้นลมปราณ หยุด เลือด ทะลวงหัวใจ เสริมหยาง
๕. เปลือกขิง คุณสมบัติร้อนเล็ก น้อย ขับปัสสาวะ ลดบวม
๖. ใบขิง คุณสมบัติร้อนเล็กน้อย ช่วยย่อย ขับน้ำ ทำให้เลือดไหลเวียนคล่อง

คุณสมบัติและสรรพคุณอันมากมายของขิง ทำให้ขิงจัดเป็นยาอายุวัฒนะที่หาง่ายที่สุดชนิดหนึ่ง ปัจจุบันยังพบว่ามีสารต้านมะเร็ง สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจหลักพื้นฐานข้อหนึ่งที่ว่า มีข้อดี ก็มีข้อเสีย การเลือกปรับใช้ให้เหมาะสมกับภาวะร่างกายของบุคคล สภาพของภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป มีความร้อนหรือไฟอ่อนๆ ในตัว หรือคนที่ร้อนแกว่ง ต้องระวัง อาจทำให้โรคกำเริบ หรือหนักขึ้นได้

จึงไม่แปลกที่หลายๆ ท่านกินขิงแล้วอะไรๆ ก็ดีไปหมด แต่บางท่านกลับรู้สึกว่าไม่ดีเท่าที่คาดหวังไว้ ก็อย่าได้เข้าใจผิดว่าไม่มีอะไรดี แต่โดยภาพรวม ระบบการย่อยอาหารของคนเราชอบความอุ่นร้อน ต้องการย่อยอาหารที่ดี และระบบย่อยอาหารถือเป็นแหล่งกำเนิดพลังของร่างกายที่สำคัญมาก ขิงจะมีคุณค่าต่อการช่วยเกิดพลัง ภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการย่อย และกลไกต่างๆ ของร่างกาย ขิงจึงเป็นยาอายุวัฒนะที่ควรแก่การเรียนรู้และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ขิงอ่อน-ขิงแก่ กับตำรับยาจีนอย่างง่าย
ขิงอ่อน : สรรพคุณหลักคือ แก้คลื่นไส้ อาเจียน
๑. คลื่นไส้อาเจียน อาเจียนมีน้ำลายมาก ไม่กระหายน้ำ
๒. คลื่นไส้อาเจียน หรือเรอ สะอึก
๓. คลื่นไส้อาเจียน กลัวหนาว เบื่ออาหาร ระบบย่อยไม่ดี
๔. อาเจียนไม่หยุด เบื่ออาหาร คนแพ้ท้อง

ขิงแก่ : สรรพคุณหลักคือ รักษาภาวะน้ำลายมาก แก้อาเจียน มือเท้าเย็น แก้ไอ แก้ปวดเอว (มีความเย็นมาก) แก้ท้องอืด
๑. น้ำลายมาก อาเจียนเป็นน้ำใส ไอ
๒. มือ เท้าเย็น คลำชีพจรไม่ได้ ช็อก โรคหัวใจ
๓. ไอ หอบ เสมหะขาวเหลวปริมาณมาก มีฟอง
๔. ท้องอืด ปวดท้อง เย็นท้อง กลัวหนาว ปัสสาวะไม่คล่อง

——————-
#Gingen #จินเจน
#ขิงผงจินเจน
#ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน
#ดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย
www.gingen.com

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.doctor.or.th