Skip to content

อาการ “ชา” หรือจะเป็นสัญญาณบอกโรค

อาการชาปลายนิ้ว หรือรู้สึกมีอาการเหน็บชาตามปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าเหมือนมีใครเอาเข็มมาทิ่มแทง อาจเป็นปัญหาที่ใครหลายคนกำลังประสบอยู่ อาจเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบประสาท หากคุณมีอาการชาบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น หรือมีอาการชาไม่ทราบสาเหตุ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

อาการชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาท   ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบได้บ่อย คือ บริเวณมือและเท้า เช่น มือชา เท้าชา ชาปลายนิ้วมือ โดยลักษณะของอาการชาอาจเป็นได้ทั้งสูญเสียความรู้สึก รู้สึกแบบผิวหนังหนาๆ เป็นปื้นๆ 

โดยลักษณะของอาการชาเหล่านี้ อาจเป็นอาการของโรคหรือเป็นสัญญาณแรกของโรค เช่น อาจเกิดจากการนั่งหรือยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ระดับแร่ธาตุและวิตามินในร่างกายผิดปกติ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัด เบาหวาน ปวดศีรษะ ไมเกรน ลมชัก หลอดเลือดสมอง เป็นต้น

อาการชาแบบไหนที่ควรมาพบแพทย์?

โดยทั่วไป อาการชาที่เกิดร่วมกับอาการปวด อาจจะก่อให้เกิดความรำคาญหรือรบกวนชีวิตประจำตัหากคุณมีอาการชาบ่อยๆ ชาไม่ทราบสาเหตุ อย่านิ่งนอนใจ ควรมาปรึกษาพบแพทย์เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของระบบประสาท

  • ชาตามมือและนิ้วมือมักมีอาการร่วมกับปวดแสบปวดร้อนบริเวณกระดูกและข้อ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของโรคเกาต์
  • ชานิ้วก้อย นิ้วนาง และ ขอบมือด้านเดียว แต่ไม่เลยเกินข้อมือ มักเกิดจากการที่เส้นประสาทถูกกดทับตรงข้อศอก แนะนำให้เลี่ยงท่าทางที่ทำให้ชา แนะนำให้ลดงานที่ใช้มือข้างนั้นๆลง เลี่ยงท่าทางที่ทำแล้วทำให้มือชา เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ                                ถ้ารู้สึกชาเลยข้อมือขึ้นมาจนถึงข้อศอก มักจะมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณกระดูกไหปลาร้า
  • ชาที่นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วโป้งอาจเป็นอาการเกี่ยวกับกระดูกคอทับเส้นประสาท
  • ชาบริเวณปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าอาจมาจากภาวะน้ำตาลสูง ส่งผลให้เส้นประสาทส่วนปลายที่ควบคุมการทำงานของมือ และเท้าเสียหาย
  • ชาตั้งแต่แขนไปจนถึงนิ้วมือมักเกิดจากกระดูกต้นคอเสื่อม และมีผลต่อการกดทับเส้นประสาท
  • ชาตั้งแต่สะโพกลงไปจนถึงเท้าอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
  • ชาปลายเท้าและปลายมือเข้าหาลำตัวเกิดจากการขาดสารอาหารสำคัญบางชนิด ได้แก่ วิตามิน B1, วิตามิน B6 และ วิตามิน B12  นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นเนื่องจากการเป็นโรคบางชนิดได้ด้วย เช่น โรคไต โรคมะเร็ง เป็นต้น

ที่มา : sikarin.com

#จินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน