Skip to content

รูปร่างทรงไหนใส่ใจสุขภาพที่สุด เกร็ดความรู้เกี่ยวกับรูปร่าง

รูปร่างทรงไหนใส่ใจสุขภาพที่สุด

🥤กลางวันทานข้าวเสร็จ ต้องตบของหวานเป็นชานมไข่มุก
🥤วันนี้ทำงานเหนื่อยย เหนื่อย ขอจัดบุพเฟ่หมูกระทะหน่อยแล้วกัน
🥤หิวจนนอนไม่หลับ โซ้ยมาม่าสักถ้วยตอนเที่ยงคืนคงไม่เป็นไรมั้ง

หนุ่มสาวคนไหนมีพฤติกรรมแบบนี้บ้าง⁉️

การกระทำเหล่านี้อาจส่งผลให้รูปร่างพัง! และค่า BMI สูง! จนทำให้เกินโรคต่างๆตามมาได้😱

💡วันนี้ป้าเจนมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับรูปร่าง และวิธีคิดค่า BMI มาฝาก เพื่อสุขภาพของชาวเพจจินเจนที่ดียิ่งขึ้น

ค่า BMI หรือ Body Mass Index คือ ค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว และส่วนสูง ซึ่งสามารถระบุได้เลยว่า รูปร่างของคุณอยู่ในระดับใด ตั้งแต่อ้วนมาก ไปจนถึงผอมเกินไป

👍วิธีการคำนวณก็ง่ายทำตามภาพได้เลยจ้าา

การวัดค่า BMI ยังบ่งบอกอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตรวจสอบภาวะไขมันและความอ้วน ดังนั้นการทำให้ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว

ค่า BMI ของคุณอยู่ในระดับใด? เช็กเลย!

🚴🏻‍♀️อ้วนมาก ( 30.0 ขึ้นไป )
ค่อนข้างอันตราย เพราะเข้าเกณฑ์อ้วนมาก เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน หากค่า BMI อยู่ในเลขนี้ จะต้องระวังการรับประทานไขมัน และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหากเลขยิ่งห่างจาก 40.0 มาก ยิ่งแสดงถึงความอ้วนที่มากขึ้น

🚴🏻‍♀️อ้วน ( 25.0 – 29.9 )
คุณอ้วนในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมากๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

🚴🏻‍♀️น้ำหนักเกิน ( 23.0 – 24.9 )
พยายามอีกนิด เพื่อลดน้ำหนักให้เข้าสู่ค่ามาตรฐาน เพราะค่า BMI ในช่วงนี้ยังถือว่าเป็นกลุ่มผู้ที่มีความอ้วนอยู่บ้าง แม้จะไม่ถือว่าอ้วน แต่หากประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ก็ถือว่ายังมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ

🚴🏻‍♀️น้ำหนักปกติ เหมาะสม ( 18.6 – 22.9 )
น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทย คือค่า BMI ระหว่าง 18.5-24.9 อยู่ในเกณฑ์ปกติ ห่างไกลโรคที่เกิดจากความอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆน้อยที่สุด ควรพยายามรักษาระดับค่า BMI ให้อยู่ในระดับนี้ให้นานที่สุด

🚴🏻‍♀️ผอมเกินไป ( น้อยกว่า 18.5 )
น้ำหนักน้อยกว่าปกติก็ไม่ค่อยดี หากคุณสูงมากแต่น้ำหนักน้อยเกินไป อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย การรับประทานอาหารให้เพียงพอ และการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อสามารถช่วยเพิ่มค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

ค่า BMI จากโปรแกรมคำนวณนี้ เป็นค่าสำหรับชาวเอเชียและคนไทย ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติ ค่า BMI เฉลี่ยของหญิงไทยคือ 24.4 และของชายไทยคือ 23.1

บ่งชี้โรคด้วยค่า BMI

1. โรคอ้วน ภาวะที่ร่างกายสะสมไขมันมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ บางคนกล่าวว่าภาวะน้ำหนักเกิน มีความรุนแรงน้อยกว่า แต่ในทางการแพทย์ทั้งสองสภาวะถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งนอกจากเราจะดูว่าร่างกายของเรานั้นก้าวเขาสู่ภาวะ “อ้วน” จากการสังเกตเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ได้แล้ว BMI ก็เป็นอีกตัวบ่งชี้หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน จัดเป็นเครื่องมือวัดปริมาณไขมันในร่างกายชิ้นหนึ่งที่น่าเชื่อถือทีเดียวล่ะ

2. โรคหัวใจและหลอดเลือด สืบเนื่องจากการเป็นโรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วนล้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งสิ้น เนื่องจากไขมันที่สะสมในร่างกายในปริมาณที่มากเกินไปนั้นอุดตันในเส้นเลือด
หรือหากจะกล่าวให้เห็นภาพก็คือไขมันที่สะสมนั้นไปเกาะอยู่บนผนังของหลอดเลือดนั่นเอง หลอดเลือดแดงจึงตีบและมีขนาดแคบลง ส่งผลให้เลือดแดงเดินทางผ่านได้น้อยจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจอาจตายได้ในที่สุด

3. โรคเบาหวาน ระดับไขมันเลือดที่สูงนั้น จะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น หลอดเลือดแดงตีบแคบลงและเลือดไหลเวียนน้อยลงไปด้วย มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับโรคหัวใจและหลอดเลือดนั่นเอง

4. โรคกระดูกพรุน BMI อาจไม่ได้บ่งชัดถึงโรคกระดูกพรุนโดยตรง แต่น้ำหนักและส่วนสูงของคุณสามารถบอกถึงความเสี่ยงได้ กล่าวคือคุณอาจมีน้ำหนักตัวมากเกินจนทำให้กระดูกหักในอนาคตได้

ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรคเท่านั้น และค่า BMI นี้ก็เป็นเพียงเครื่องมือวัดแบบคร่าว ๆ เบื้องต้นเช่นกัน เพราะบางคนมีค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ตามปกติ แต่เขาคนนั้นอาจมีปริมาณไขมันสะสมซึ่งนำไปสู่แนวโน้มโรคอ้วนก็เป็นได้เหมือนกัน ดังนั้น การวัดค่าแบบ BMI อาจไม่สามารถวินิจฉัยโรคของคนไข้ได้เพียงอย่างเดียว เราอาจต้องดูปัจจัยเรื่องอายุ เพศ เชื้อชาติ และพันธุกรรมควบคู่ไปพร้อมๆ กับการปรึกษาแพทย์ด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมว่า BMI เป็นค่าวัดที่ช่วยบ่งชี้ว่าร่างกายและน้ำหนักของคุณอยู่ในเกณฑ์ไหน

สิ่งสำคัญคือ เมื่อคุณรู้ว่าตนอยู่ในเกณฑ์ใดแล้วคุณควรเรียนรู้ที่จะควบคุมวินัยการรับประทานอาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณ ลองหันมารักษาสุขภาพด้วยการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ควบคุมปริมาณอาหารอย่างเหมาะสม จำกัดอาหารหวานและปริมาณแป้งที่บริโภคเข้าไป และจงอย่าหลงผิดหาทางลัดในการลดน้ำหนักโดยใช้สารเคมี หรือกินยา เนื่องจากอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้

สามารถหาซื้อน้ำขิงจินเจนได้แล้วที่ www.Gingen.com


#จินเจน #Gingen #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน #ขิงผงสำเร็จรูปจินเจน #ดื่มดีมีประโยชน์ปรุงอาหารก็อร่อย

#ขิงผง100% #ขิงผงไม่มีน้ำตาล #ขิงผสมมน้ำตาล #ขิงยอดนิยม #ขิงเข้มข้น #ขิงเพิ่มน้ำนม #ขิงสำหรับคุณแม่

#ประโยชน์ของขิง #สมุนไพรขิง #ขิงยาอายุวัฒนะ #ขิงทำอาหาร

#ขิงช่วยเผาผลาญ #ขิงลดความอ้วน#ขิงแก้เมารถ #ขิงแก้เมาเรือ #ป้าเจน